การใช้ปุ๋ยบุญพืชกับชมพู่

ชมพู่เป็นไม้ผลที่สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่ที่ดีที่สุดต้องมีความเป็นกรดเล็กน้อย เป็นกลาง ประมาณ 6.5 – 7.0 มีฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมค่อนข้างสูง ระบายน้ำได้ดี

การเตรียมดิน

ชมพู่ปลูกได้ทั้งสภาพไร่และสภาพสวนหรืออาจจะกล่าวได้ว่าปลูกแบบยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร ร่องกว้างประมาณ 2 เมตรซึ่งการปลูกวิธีนี้นิยมมากในแถบจังหวัดนครปฐม ราชบุรีสมุทรสงครามและการปลูกในสภาพพื้นที่ราบ ซึ่งนิยมปลูกในแถบจังหวัดเพชรบุรี การปลูกทั่งสองวิธีนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกันคือการปลูกในสภาพพื้นราบผลชมพู่จะมีขนาดเล็กกว่าแต่รสชาติหวานกว่า เพราะขาดน้ำแต่การปลูกในสภาพยกร่องผลชมพู่จะมีขนาดใหญ่กว่า แต่มีรสจืดเพราะบังคับน้ำไม่ได้

 

การปลูก

หลังจากเตรียมพื้นที่ที่จะปลูกแล้วก็ลงมือขุดหลุมปลูกทันที โดยขุดหลุมกว้างประมาณ 1 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตรใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15คลุกเคล้าให้เข้ากันภายในหลุม นำต้นชมพู่แกะถุงพลาสติกออกลงปลูกหาหลักปักผูกเชือกกันลมโยกต้นจะทำให้ต้นชมพู่ไม่โต ฤดูการปลูกได้ทุกฤดูแต่ที่นิยมปลูกได้แก่ฤดูฝนเพระไม่ต้องดูแลรักษามาก แต่ควรทำทางระยายน้ำกันต้นเน่าแต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งควรหาเศษฟางแห้ง หรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้นป้องกันความชื้นระเหย

 

 

การดูแลรักษา

  1. การให้น้ำแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์และการให้น้ำแบบแอ่งรอบโคนต้น

ระยะเริ่มปลูกใหม่ ๆ ควรให้น้ำวันละ 1 – 2ครั้ง ตอนเช้า-เย็น จนกว่าต้นชมพู่จะตั้งตัวได้ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการอุ้มน้ำของดินที่ปลูกด้วยคือถ้าดินเก็บความชื้นได้ดีเช่นดินเหนียว ระยะการให้น้ำ ก็ห่างออกไปอาจจะเป็น 2 –3 วัน/ครั้ง แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการอุ้มน้ำของดินที่ปลูกด้วยคือถ้าดินเก็บความชื้นได้ดีเช่นดินเหนียว ระยะการให้น้ำ ก็ห่างออกไปอาจจะเป็น 2 –3 วัน/ครั้ง

          ระยะก่อนให้ผลเนื่องจากชมพู่เป็นไม้ผลที่ต้องการน้ำค่อนข้างมากหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้วควรทำแอ่งน้ำล้อมรอบโคนต้นและให้น้ำจนเต็มแอ่งปล่อยให้น้ำแห้งไปเองจะช่วยยืดระยะการให้น้ำระยะให้ผล ควรให้น้ำประมาณ 5 – 7 วัน/ครั้งถ้าดินที่เก็บความชื้นไม่ดีการให้น้ำอาจจะต้องดีกว่านี้เพราะถ้าให้น้ำไม่เพียงพอในช่วงนี้จะทำให้ผลร่วง ผลเล็กไม่สมบูรณ์ซึ่งจะมีผลทำให้ขายไม่ได้ราคา ก่อนจะเก็บเกี่ยวผลประมาณ 7 วันควรงดการให้น้ำจะทำให้ผลชมพู่มีรสหวานอร่อย ซึ่งระยะนี้ถ้าไม่งดการให้น้ำผลชมพู่จะมีรสจืดและมีน้ำในผลมาก

 

  1. การให้ปุ๋ย

2.1     ระยะต้นเล็ก ควรให้ปุ๋ยบำรุงต้นสะสมอาหารผสมร่วมกับปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 5 : 1 ส่วนประมาณ 1-2 กำมือรอบโคนต้นประมาณ 15 วันครั้ง

2.2     ระยะต้นใหญ่หลังจากต้นชมพู่มีขนาดใหญ่ ประมาณ 2 ปีขึ้นไปสามารถเริ่มให้ผลผลิตสามารถให้ปุ๋ยและบำรุงทางใบในช่วงต่างๆ ดังนี้

ช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคมหรือฤดูร้อน  ชมพู่จะอยู่ในช่วงพักต้น หรือฟื้นฟูต้น  แนะนำให้ใช้ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงต้น-สะสมอาหาร  ร่วมกับเคมีสูตร 15-15-15อัตรา 3 :1 ส่วน หว่านรอบโคนต้นประมาณต้นละ ½-1กก. ตามสภาพขนาดของต้น พร้อมฉีดพ่นทางใบด้วยต้าร์ต้าร์สูตรไม้ผลหรือบิ๊กทวีส์ สูตรบำรุงต้น อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 7-15 วันเพื่อส่งเสริมให้ต้นชมพู่มีใบเขียว ดำชุ่มชื่น ต้นสมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค

ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นไปจะเป็นช่วงเร่งดอกหรือเปิดตาดอกแนะนำให้ใช้ปุ๋ยบุญพืช สูตรกระตุ้นตาดอกร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24อัตรา 3 :1 ส่วน หว่านรอบโคนต้นประมาณต้นละ ½-1กก. ตามสภาพขนาดของต้น ชมพู่ควรใส่ปุ๋ยในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งพร้อมฉีดพ่นทางใบด้วยต้าร์ต้าร์ สูตรไม้ผล หรือบิ๊กทวีส์สูตรกระตุ้นตาดอก อัตรา 20ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน งดเว้นช่วงดอกบานเพื่อช่วยส่งเสริมให้เพศดอกสมบูรณ์  และส่งเสริมให้มีปริมาณดอกที่ดก และมีเปอร์เซ็นติดดอกง่ายขึ้น

ช่วงทำลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไปจนถึงมีนาคมแนะนำให้ใช้ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงผลสร้างเนื้อจัมโบ้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 3 :1 ส่วน หว่านรอบโคนต้นทุก 20-30 วันประมาณต้นละ ½-1 กก. ตามสภาพขนาดของต้น ตั้งแต่เริ่มติดผลพร้อมฉีดพ่นทางใบด้วยต้าร์ต้าร์ สูตรไม้ผล หรือบิ๊กทวีส์สูตรบำรุงผลสร้างเนื้อจัมโบ้อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15วันจะช่วยส่งเสริมให้ชมพู่ขยายขนาดได้ดี  เนื้อแน่นแข็ง รสชาติดี ส่งเสริมให้ผลสวยสีสันสวยงาม ผลมีความทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดี ไม่แตกและหลุดร่วงง่าย

การห่อผลชมพู่

เนื่องจากชมพู่เป็นไม้ผลที่แมลงวันผลไม้ชอบทำลายมากที่สุดพืชหนึ่งถ้าไม่มีการห่อผลแล้วโอกาสที่แมลงวันผลไม้ทำลายให้ผลเน่าเสียมีมากกว่า 90 %วิธีการห่อผล ชมพู่เป็นไม้ผลที่ออกดอกครั้งละมาก ๆ หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 2เดือน ก็สามารถห่อผลได้โดยเลือกผลที่สมบูรณ์ไว้ช่อละ 3 ผล ไม่ควรเอาไว้มากกว่านี้จะทำให้ผลเล็กคุณภาพไม่ดี ผลที่เลือกไว้เป็นผลหรือช่อที่ขั้วชี้ลงด้านล่างจะเป็นช่อที่แข็งแรงกว่าช่อที่ขั้วหันขึ้นทางด้านบนและควรเป็นช่อดอกที่ออกบริเวณกิ่งไม่ควรเอาช่อที่ออกบริเวณปลายกิ่งเพราะจะทำให้ได้ผลที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการลำเลียงอาหารส่งไปได้น้อยกว่าช่อดอกที่ออกบริเวณกิ่งหลังจากเลือกช่อผลที่ต้องการห่อได้แล้วก็ใช้ถุงกระดาษซึ่งจาการวิจัยพบว่าถุงกระดาษที่ทำจากถุงปูนซีเมนต์ ขนาด 6 x 14 นิ้ว ให้ผลดีที่สุด รองลงมาได้แก่ถุงพลาสติกแต่ละสีก็จะให้สีผลชมพู่ต่างกันซึ่งจากการทดสอบกับชมพู่เพชรสุวรรณ ชมพู่ทูลเกล้า และชมพู่น้ำดอกไม้พบว่าถุงสีแดงและสีเหลืองจะให้สีผลที่สดใสและเป็นมันมากกว่าสีอื่น ๆ

 

การแต่งกิ่ง

ขณะที่ต้นชมพู่ยังเล็กควรตัดแต่งเพื่อให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการเช่นให้มีกิ่งใหญ่ประมาณ 2 – 3 กิ่ง กิ่งที่เหลือตัดออกหรือถ้าต้องการให้มีทรงพุ่มแบบต้นเดี่ยว ๆ ก็ต้องตัดกิ่งที่ไม้ต้องการออกซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของสวน แบ่งออกได้ดังนี้ การตัดแต่งประจำปีควรตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ซึ่งประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนโดยยึดหลักกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ไขว้ไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่ฉีกหักโดยตัดชิดโคนกิ่งและใช้สารเคมีที่ป้องกันกำจัดเชื้อราทาบริเวณแผลและถ้าเป็นต้นที่สูงใหญ่มาก ๆไม่สะดวกแก่การปฏิบัติงานควรตัดยอดทิ้งเพื่อบังคับไม่ให้ต้นสูงเกินไปซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ด้วย การตัดแต่งตามความจำเป็นเป็นการตัดแต่งขณะห่อผลเพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติงานเกษตรกรนิยมใช้มือดึงกิ่งที่ไม่ต้องการออกและเพื่อให้ตาที่จะแตกเป็นกิ่งช้ำไม่แตกออกมาอีกซึ่งตามหลักวิชาการใช้กรรไกตัดจะทำให้เกิดกิ่งใหม่ปริมาณมากเสียเวลาตัดแต่งอีกหลายครั้ง