หนอนใยผัก

หนอใยผัก ศรัตรูตัวร้ายของพืชตระกูลกะหล่ำ

หนอนใยผัก
เตือนเกษตรกร ระวังหนอนใยผัก เข้าทำลายพืชตระกูลกะหล่ำในช่วงนี้
เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้ฝนตก ความชื้นสูง ผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ) ในทุกระยะ ควรระวังและเตรียมรับมือกับหนอนใยผักวางไข่ กัดกินผิวใบทำให้ผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห จากนั้นเข้าดักแด้บริเวณใบพืช โดยมีใยบางๆ ปกคลุมติดใบพืช

วิธีป้องกันและดูแล
1. การใช้กับดักชนิดต่างๆ ได้แก่
– กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องสีเหลืองทาด้วยกาวเหนียว ทุก 7-10 วันครั้ง
– กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่ที่มีราคาถูกและปลอดภัยไม่มีอันตราย ในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก
2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องปิดโรงเรือนอย่างมิดชิดตลอดเวลา
3. การใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) แบคทีเรียชนิดนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนใยผัก ไม่ควรใช้ ในช่วงที่มีการระบาดมาก
4. การใช้วิธีทางเขตกรรม สามารถช่วยลดการระบาดของหนอนใยผักได้ เช่น การไถพรวนดินตากแดด หรือการทำลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน
5. การใช้สารฆ่าแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็ว และหลายชนิด สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ได้แก่ สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 40-60 ml ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% sc อัตรา 40-60 ml ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% ECอัตรา 40-60 mlต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น (ควรใช้สลับกลุ่มสาร และใช้ไม่เกิน 2-3 ครั้งต่อฤดู)

ต้าร์ต้าร์ พืชผัก

ต้าร์ต้าร์ อะมิโนบำรุงทางใบ สูตรพืชผัก  ส่งเสริมให้พืชตระกูลกะหล่ำ และพืชผักชุกชนิดมีเซลล์พืชที่แช็งแรงขึ้น ช่วยดูแลให้พืชมีใบหนา ถูกทำลายจากหนอนแมลงได้ยากกว่า และยังมีกลิ่นพิเศษ ที่เป็นกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ จึงช่วยลดการรบกวนของหนอนแมลงได้ดีขึ้น จึงลดการใช้สารกำจัดแมลงลง

ใช้อัตรา
20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน สามารถผสมร่วมสารกำจัดแมลงตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำข้างต้น และฉีดพ่นในคราวเดียวได้ 

อ่านข้อมูลแบบเต็มได้ที่
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร