ฝรั่ง

การใช้ปุ๋ยบุญพืชกับฝรั่ง

ฝรั่ง
ฝรั่งมีหลายสายพันธุ์ และพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าได้แก่

    • ฝรั่งเวียดนาม – ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523 
    • ฝรั่งกิมจู – เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ 
    • ฝรั่งกลมสาลี่- เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
    • ฝรั่งแป้นสีทอง- ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่อำเภอสามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
    • ฝรั่งไร้เมล็ด – ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอ และกิมจู
    • พันธุ์แปรรูป เป็นพันธุ์ที่ใช้คั้นทำน้ำฝรั่ง เนื้อฉ่ำน้ำ สีชมพู

✅การปลูก  การเตรียมดิน และการเตรียมแปลง สามารถทำได้ 2 รูปแบบตามสภาพพื้นที่ คือ
1. พื้นที่ดินเหนียว น้ำท่วมขังง่าย และมีระบบน้ำมากเกินพอ ให้ทำการขุดร่องลุกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1-2 เมตร เพื่อเป็นแนวร่องสำหรับการให้น้ำ การเตรียมแปลง และการปลูกในลักษณะนี้มักพบในพื้นที่ลุ่มภาคกลางเป็นส่วนใหญ่

2. พื้นที่ทั่วไปที่มีระบบน้ำไม่เพียงพอ สามารถปลูกในแปลงโดยไม่ยกร่องหรือการยกร่องสูงประมาณ 30 ซม. ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 3-4 เมตร ทั้งนี้ ให้ทำการไถดะ 1 ครั้ง เพื่อตากดิน และกำจัดวัชพืช และไถแปร 1 ครั้ง โดยเว้นช่วงห่างประมาณ 1-2 อาทิตย์ หลังจากนั้นทำการไถยกร่อง

✅วิธีปลูก
1. ใช้กิ่งพันธุ์จากการตอนหรือการปักชำ
2. ขุดหลุมปลูก กว้างxลึก ขนาด 50×50 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร หรือตามขนาดระยะห่างของร่อง
3. รองพื้นด้วยปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงต้นหรือสูตรพลังประมาณ 0.5 กิโลกรัม/หลุม หรือขนาด 1 พลั่วตัก พร้อมคลุกดินผสมก้นหลุมให้สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ ทั้งนี้อาจผสมปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา  1 กำมือ/หลุมก็ได้
4. นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมปลูก โดยกลบดินสูงเหนือปากหลุมเล็กน้อย ทั้งนี้ควรให้ดินกลบเหนือเขตรากสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร
5. ใช้หลักไม้ปักหลุม และผูกเชือกยึดลำต้น
6. เมื่อปลูกเสร็จควรให้น้ำให้ชุ่มทันที

✅การดูแลรักษา
เริ่มให้น้ำครั้งแรกหลังการปลูกเสร็จให้เปียกชุ่ม หลังจากนั้น ให้น้ำทุก 2 ครั้ง/วัน เช้า-เย็น จนต้นฝรั่งตั้งตัวได้ โดยอาจเลือกใช้ระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นอาจทำการให้น้ำน้อยลง ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และความชุ่มชื้นของดิน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง ขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงติดผล แต่ในช่วงติดดอกไม่ควรให้น้ำมากซึ่งในช่วงนี้เพียงแค่ระวังไม่หน้าดินแห้งก็ เพียงพอ

✅การใส่ปุ๋ย
🟢ช่วงพักต้นแนะนำให้ใช้ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงต้น-สะสมอาหารหรือสูตรพลัง ถ้าหากต้นโทรม จะช่วยฟื้นฟูต้นที่เสื่อมโทรมได้เร็วขึ้นและลดกรดในดิน

🔵ช่วงกระตุ้นตาดอกนำนำให้ใช้สุตรกระตุ้นตาดอกกับต้าร์ต้าร์สูตรไม้ผลและบิ๊กทวีสูตรกระตุ้นตาดอกเพราะจะทำให้ดอกออกดี เพศดอกสมบูรณ์ ขั้วเหนียว

🟠ช่วงทำผลผลิตแนะนำให้ใช้สูตรเร่งผลจัมโบ้คู่กับต้าร์ต้าร์สูตรไม้ผลหรือบิ๊กทวีสูตรเร่งผลจัมโบ้ จะทำให้เนื้อดี กรอบ อร่อย รสชาติดี ผิวดี ขั้วลูกเหนียว ไม่หลุดร่วงง่าย และป้องกันแมลงรบกวน

✅การกำจัดวัชพืช
ในระยะเริ่มปลูกจนถึงต้นอายุ 6 เดือน หลังปลูก ให้กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นทุกๆ 1 ครั้ง/เดือน ร่วมด้วยกับการไถกลบ หลังจากเมื่อต้นแตกกิ่งแล้วอาจทำการกำจัดวัชพืชน้อยลงก็ได้

✅การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งจะตัดกิ่งที่มีอายุมากแล้วออกเพื่อให้กิ่งใหม่ขึ้นแทน เพราะหากใช้กิ่งที่ให้ผลมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี จะทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็กลง สำหรับกิ่งที่ยาวมากทั้งด้านข้างหรือในแนวสูงให้ตัดปลายกิ่งออก เพื่อให้มีลักษณะทรงพุ่มที่พอเหมาะสำหรับการเก็บผล ไม่กว้างหรือไม่สูงเกินไป นอกจากนั้น การตัดแต่งกิ่งยังช่วยในเรื่องการถ่ายเทของลมได้ดี แสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงในทรงพุ่ม

✅การห่อผล
เป็นวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการกัดกินผลของแมลง และสัตว์ต่างๆ รวมถึงเชื้อราหรือสภาพแวดล้อมต่างๆที่อาจทำให้ผลเสียรูปไม่สวยงามได้ มีขั้นตอนการห่อ ดังนี้
  – ก่อนการห่อให้ฉีดพ่นผลด้วยยากำจัดเชื้อราก่อน หรือหากต้องการใช้วิธีธรรมชาติให้ฉีดพ่นด้วยน้ำต้มสมุนไพร อาทิ บระเพ็จ สะเดา เป็นต้น
  – วัสดุที่ใช้ควรเป็นกระดาษชนิดเคลือบมัน หากใช้ถุงพลาสติกให้ห่อทับด้วยกระดาษอีกชั้น
  – การห่อเริ่มด้วยการม้วนกระดาษเป็นวงกลมตามขนาดของผล และสวมครอบผล พร้อมรัดกระดาษ หรือพลาสติกด้วยสายรัด ณ จุดที่เป็นกิ่งของผลจะดีที่สุด

✅การปลิดผล
เป็นวิธีการปลิดผลดิบให้เหลือผลเพียง 2-3 ผล/กิ่ง เพื่อให้ลูกที่เด่น และสมบูรณ์ที่สุดเจริญเติบโต ซึ่งการปลิดผลดิบจะเริ่มปลิดผลเมื่อผลทั้งหมดติด และโต ขนาดประมาณเท่าลูกมะนาว โดยให้ทำการเลือกปลิดผลที่มีขนาดเล็กสุดออก ให้เหลือผลที่มีขนาดใหญ่ไว้เพียงจำนวนข้างต้น

✅การเก็บผลผลิต
การเก็บผลควรเก็บผลที่แก่หรือกำลังห่าม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน (ไม่ควรเก็บผลที่ยังไม่ห่ามหรือผลที่ใกล้สุก) ลักษณะผลที่เหมาะสมต่อการเก็บจะสังเกตได้จากสี และผิวของผล ซึ่งจะมีลักษณะสีตามสายพันธุ์ เช่น แป้นสีทองผลที่ได้ระยะเก็บจะมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง ผิวมีลักษณะเต่งตึง ขั้วผลเรียวเล็กสีเขียวอ่อน การเก็บจะใช้กรรไกรตัดชิดขั้วผล รวบรวมใส่กระบะพลาสติก พร้อมนำเข้าร่มทำความสะอาด รอส่งจำหน่าย

✅โรคและแมลง
โรคที่พบ ได้แก่ โรคราสนิม ทำให้ใบมีสีเหลืองแดงคล้ายสนิมขึ้นเป็นจุดๆ ทำให้ใบแตก ป้องกัน และกำจัดได้โดยฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา เช่น มาแนบ ซีแนบ เป็นต้น
แมลงศัตรูที่พบ ได้แก่ แมลงวันทอง และค้างคาว ที่มักเจาะกินเนื้อฝรั่งที่กำลังห่าม ป้องกันได้โดยการห่อผลฝรั่งด้วยกระดาษ