การใช้ปุ๋ยบุญพืชในลำไย

มกราคม (ระยะแทงช่อดอก)
•   การให้น้ำ  เมื่อเห็นเป็นช่อดอกแล้วควรมีการให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ
•   การใส่ปุ๋ย  พ่นอาหารเสริมทางใบด้วยต้าร์ต้าร์ สูตรไม้ผล อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงช่อดอกและการติดผลที่ดี
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ระยะนี้อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูช่อดอกเช่นหนอนกินดอก หนอนเจาะก้านดอก มวน ลำไย ควรทำการพ่นสารกำจัดแมลงเป็นระยะ เกษตรกรสามารถใช้ต้าร์ต้าร์ผสมร่วมสารกำจัดแมลงฉีดพ่นในครั้งเดียวเพื่อลดขั้นตอนการฉีดพ่นได้

กุมภาพันธ์ (ระยะดอกบาน)
•        การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ  สามารถนำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  งดฉีดฮอร์โมนหรือสารป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดในระยะนี้ เพื่อให้มีแมลงมาช่วยในการผสมเกสรให้มากที่สุด

มีนาคม-เมษายน (ระยะติดผลขนาดเล็ก)
•        การให้น้ำ  ระยะนี้ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลแคระแกร็นและร่วงมาก
•        การใส่ปุ๋ย  ระยะติดผลขนาดหัวไม้ขีดไฟ  ใส่ปุ๋ยบุญพืช สูตรบำรุงผลสร้างเนื้อจัมโบ้ อัตรา 1-2 กก./ต้น  หรือใช้ผสมร่วมปุ๋ยเคมี สูตรที่ใช้ อัตรา 3 : 1 ส่วน เพื่อบำรุงผลให้โตอย่างสม่ำเสมอ ฉีดพ่นต้าร์ต้าร์ ทุก 15 วัน
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในระยะนี้อาจมีการระบาดของ หนอนเจาะขั้วผลมวนลำไย แมลงปีกแข็ง ควรหมั่นสังเกตและกำจัด หรือใช้ต้าร์ต้าร์ผสมร่วมสารกำจัดแมลงฉีดพ่นในครั้งเดียวเพื่อลดขั้นตอนการฉีดพ่นได้

พฤษภาคม-กรกฎาคม (ระยะผลกำลังเจริญเติบโต)
•        การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
•        การใส่ปุ๋ย  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30-45 วัน ใส่ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงผลสร้างเนื้อจัมโบ้ ผสมร่วมปุ๋ยเคมีสูตรที่ใช้ อัตรา 3 : 1 ส่วน อัตราต้นละ 1-2 กก.เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น  ช่วงนี้ให้ฉีดพ่นต้าร์ต้าร์ทุก 15 วันเพื่อให้ลำไยผลใหญ่และช่วยให้สีผิวสวยทั้งช่อ
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ในสวนบางท้องที่ ในระยะนี้อาจมีการทำลายของค้างคาว ควรใช้ตาข่ายไนล่อนกันตามแนวช่องระหว่างต้น เพื่อดักจับไปทำลาย นอกจากนี้ยังมีผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันทอง ควรรีบทำการป้องกันกำจัด หรือใช้ต้าร์ต้าร์ผสมร่วมสารกำจัดแมลงฉีดพ่นในครั้งเดียวเพื่อลดขั้นตอนการฉีดพ่นได้
ปล.ระยะนี้ผลกำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กิ่งจะรับน้ำหนักมากขึ้น ควรทำการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก

สิงหาคม (ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต)
•        การให้น้ำ  ควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
•        การเก็บเกี่ยว  การขึ้นไปเก็บผลผลิตควรใช้บันไดหรือพะองพาดกิ่งขึ้นไป ใช้กรรไกรตัดช่อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อไม่ควรใช้มือหัก ช่อผลโดยตรงเพราะจะทำให้ปลายกิ่งที่เหลืออยู่เป็นแผลซ้ำ หรือมีรอยฉีกขาดเข้าไปในกิ่งทำให้การแตกยอดอ่อนใหม่รวมทั้งการแทงช่อดอกในปีต่อไปจะไม่ดีด้วย ควรทยอยเก็บช่อผลที่แก่เต็มที่แล้วประมาณ 5-7 วันต่อครั้งจนหมด ต้นอย่าให้ผลแก่จัดตกค้างอยู่บนต้นนานจะทำให้คุณภาพต่ำลง

กันยายน-ตุลาคม (ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดแต่งกิ่ง) 
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งไขว้ซ้อนกัน เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น ถ้าเป็นกิ่งขนาดใหญ่ควรใช้ปูนแดงที่แผลเพื่อป้องกันโรคเข้าทำลาย
•        การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น
•        การใส่ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยบุญพืช สูตรบำรุงต้นสะสมอาหาร ต้นละ 2 กก. และฉีดพ่นทางใบด้วยต้าร์ต้าร์อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของใบให้มากขึ้น หรือใช้ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงต้นผสมร่วมปุ๋ยเคมีที่ใช้อัตรา 3 : 1 ส่วน เพื่อลดต้นทุนปุ๋ยเคมี
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น ลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะกิ่ง แมลงค่อมทอง หนอนคืบกินใบอ่อน หนอนม้วนใบ
•        การกำจัดวัชพืช  ถ้ามีวัชพืชขึ้นในสวนมาก ควรกำจัดให้หมด

พฤศจิกายน (ระยะใบแก่)
ควรมีการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยตัดเฉพาะกิ่งแตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งน้ำค้าง
•        การใส่ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงต้นสะสมอาหารประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น และฉีดพ่นต้าร์ต้าร์ อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงต้นเพื่อให้มีการสะสมอาหารและสร้างตาดอกต่อไป
•        การให้น้ำ  หลังจากหมดฝนแล้วงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  ถ้ามีการระบาดของโรคพุ่มไม้กวาดให้ทำการตัดทิ้ง และพ่นสารเคมีป้องกันโรคแมลงตามการระบาดของโรคแมลง เช่น หนอนเจาะกิ่ง หนอนคืบกินใบ

ธันวาคม (ระยะใบแก่)
ในระยะนี้ควรกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดสวน และใต้ทรงพุ่ม เพื่อให้ดินใต้ทรงพุ่มแห้งเร็วขึ้น
•        การให้น้ำ  งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นลำไยมีการสร้างตาดอก
•        การใส่ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยบุญพืชสูตรกระตุ้นตาดอกร่วมปุ๋ยเคมี 8-24-24  อัตรา 2 กก./ต้น เพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ และกระตุ้นการสร้างตาดอก
•        การป้องกันกำจัดโรคแมลง  พ่นสารป้องกันโรคแมลง ที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น มวนลำไย หนอนเจาะกิ่ง

สรุปผลที่ได้รับเมื่อใช้ปุ๋ยบุญพืชและอาหารเสริมพืช

*ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
1.        ใบเขียวเข้มไว เห็นผลภายใน 7-10 วัน แต่หลังจาก 1-2 เดือน ใบจะเริ่มเหลือง ไม่เขียวเข้มเหมือนเดิม
2.        การแตกใบอ่อนดี มีการต่อยอดให้เห็นอย่างชัดเจน
3.        ดินแน่น ดินแข็ง ให้น้ำแล้วน้ำไหลทิ้งไม่ซึมลงใต้ผิวดิน ไม่มีไส้เดือน
4.        มีแต่ธาตุอาหารหลัก ขาดธาตุอาหารรอง-เสริมที่พืชต้องการ
5.        ลำไยลูกใหญ่ มีรสหวาน แต่เป็นหวานแบบแสบลิ้น
6.        ลำไยอาจเปลือกแตก ถ้าโดนฝนตกหนัก ๆ บ่อย ๆ อาจทำให้เกิดผลร่วงตามมา
7.        ไม่สามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวลำไยเพื่อรอราคาได้
8.        ต้นทุนสูง เนื่องจากปุ๋ยเคมีราคาสูงกว่า และต้องใช้ยารักษาโรคพืชมากชนิดกว่า จึง เหลือ กำไรน้อย

*ใช้ปุ๋ยบุญพืชและอาหารเสริม 
1.        ใบเขียวเข้มมันเป็นเงาตลอดทั้งปี  ใบมัน ใบดำ ใบใหญ่ยาว
2.        การแตกใบอ่อนดี มีการต่อยอดให้เห็นอย่างชัดเจน
3.        ต้นจะโตไว ทรงพุ่มใหญ่
4.        ดินจะดำ ดินร่วนซุย เห็นขี้ไส้เดือนอย่างชัดเจน ขี้ไส้เดือนแสดงถึงความสมบูรณ์ของดิน และมีประโยชน์กว่าดินดีมากมายหลายเท่า
5.        ดอกลำไยดกทุกช่อ ทุกต้น ช่อดอกยาว
6.        ลูกใหญ่ทั้งช่อ ทุกต้น
7.        สี ผลไม่ร่วง น้ำหนักดี เนื้อไม่เละ ไม่แฉะน้ำ
8.        สามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวเพื่อรอราคา และที่สำคัญทำให้ขายได้ราคาสูง
9.        ต้นทุนต่ำ กำไรสูง