เก็กฮวย – มีประโยชน์

ต้นเก็กฮวยนั้นเรียกกันว่าต้น เบญจมาศหนู ดอกขี้ไก่ เบญจมาศ Edible Chrysanthemum, Florist Chrysanthemum, มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysanthemum morifolium Ramat. อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนและญี่ปุ่น ที่ผมเห็นในแปลงปลูกของชาวเชียงใหม่นั้น นำพันธุ์มาปลูกต่างถิ่น

เก็กฮวยเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30-120 ซม. มีกลิ่นหอม ทุกส่วนมีขนนุ่มสีขาว    ใบ เดี่ยว เวียนสลับ รูปไข่ ขนาดแตกต่างกัน ขอบใบจักเป็นแฉกคล้ายขนนก ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน บานเต็มที่ 2-3 ซม. กลีบดอกสีขาว เหลือง ชมพู แดง ม่วง น้ำตาล ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ กลีบดอกรูปท่อทั้งหมด ออกดอกตลอดปี ดอกจะเล็กใหญ่ขึ้นกับสายพันธุ์และดินอุดมสมบูรณ์หรือไม่ ผล แห้ง เป็นสัน เกลี้ยง เมล็ด ขนาดเล็กมาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กมาก ค่อนข้างยาก จึงนิยมเพาะกล้าขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือการแยกหน่อ ชอบมากถ้าดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่างเป็นกลาง อุณหภูมิ 12-35 องศาเซลเซียส ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-500 เมตร สูงกว่านี้อาจออกดอกช้าหรือไม่ก็ต้องควบคุมอุณหภูมิแบบในเรือนกระจก

ดอกเก็กฮวยเล็กมีกลิ่นหอม ใช้ดอกตากแห้งชงเป็นน้ำชาดื่มชื่นใจผ่อนคลายหายเครียด ใบและลำต้นใช้ตำพอกแผลน้ำร้อนลวก แก้โรคผิวหนังอื่น ๆส่วนใบและดอก คั้นสดเอาน้ำใส่บาดแผล น้ำต้มดื่มแก้โรคนิ่ว โรคต่อมน้ำเหลือง วัณโรค ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้โรคตับ ไขข้ออักเสบ โรคตามืดในเวลากลางคืน โรคประจำเดือนไม่มาตามปกติ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ป้องกันไม่ให้ผมหงอก เป็นยาขับลมในลำไส้ เจริญอาหาร บำรุงเส้นประสาท สายตา เป็นไม้ดอกแสนสวยอีกต้นหนึ่งที่มีคุณ

ที่มา// หนังสือเดลินิวส์

http://www.dailynews.co.th/agriculture/186769 วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556