รางจืด

รางจืดเป็นไม้เถาสามารถเลื้อยไปตามพื้นดินหรือขึ้นคลุมต้นไม้ใหญ่ เถามีลักษณะกลม สีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้มออกเป็นคู่ตรงข้ามตรงข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายใบย่านางรูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 เซนติเมตร  ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น เส้นใบมี 5 เส้น ออกฐานใบเดียวกัน ออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายยอด โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาว 1 เซนติเมตร มีน้ำหวานบรรจุอยู่ในหลอด สีม่วงแกมน้ำเงิน ผลเป็นผลแห้งแล้วแตกเป็น 2 ซีก จากจะงอยส่วนบน มีดอกในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ดอกที่โรยแล้วบางดอกอาจติดผล เมื่อแก่เปลือกผลเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีสีน้ำตาลมีปุ่มเล็ก ๆ คล้ายหนามอยู่บนเปลือกเมล็ด สามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์ได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รางจืด

แต่ส่วนใหญ่นิยมนำเถาแก่หรือใบมาปักชำมากกว่า โดยเลือกข้อแก่ ๆ ที่ใบติดอยู่สองใบมา 1 ข้อ เด็ดใบออก 1 ใบ ชำในทรายหรือแกลบที่ไม่มีดิน รดน้ำให้ชุ่มจนรากงอก จากนั้นนำไปลงถุงเพาะชำ หรือเลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็ว คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ศึกษาพบว่า  สามารถลดพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บอเนต เช่น เมโทรมิล ได้ ทำให้ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเพิ่มขึ้น หรือลดการยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส  ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้ทำหน้าที่ทำลายโคลีนเอสเทอเรสที่เป็นสารสื่อประสาท ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้แก้พิษแมงดาทะเล ป้องกันหรือลดอาการเมาเหล้า ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด คุมเบาหวานและความดัน ใบมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้น ยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผัก ใช้ลวกกิน แกงกิน เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปได้
เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศแถบอินเดีย อินโดจีน ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และไต้หวัน.

ที่มา //http://www.dailynews.co.th/agriculture/171798