แก้วมังกร ผลไม้มากคุณค่า

แก้วมังกร หรือ Dragon fruit  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocereus spp.  เป็นพืชในตระกูลแคคตัส หรือสกุลหนึ่งของกระบองเพชร     เป็นพืช
ไม้เลื้อย มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในแถบอเมริกากลาง โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำเข้ามาทางประเทศเวียดนาม เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเป็นผลไม้ประจำถิ่นของเวียดนาม
          สำหรับประเทศไทยเริ่มรู้จักผลไม้ชนิดนี้อย่างแพร่หลายเมื่อ พ.ศ. 2534     เนื่องจากมีการนำเข้าต้นพันธุ์ดีจากเวียดนามมาปลูกเพื่อเป็นพืช
เศรษฐกิจ     โดยพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาในช่วงแรกเป็นพันธุ์เนื้อในสีขาว      ต่อมาอีกระยะหนึ่งจึงมีการนำเข้าแก้วมังกรพันธุ์เนื้อในสีแดง   ที่มีชื่อว่า
“แดงสยาม”  ซึ่งเป็นพันธุ์มาจากไต้หวัน เข้ามาปลูกในประเทศไทย

 

ลักษณะของต้นแก้วมังกร ลำต้นเป็นแฉก 3 แฉก สีเขียว  อวบน้ำ มีความยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นส่วนของใบที่เปลี่ยนรูปร่าง
ไป  ส่วนลำต้นที่แท้จริงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของแฉกทั้ง 3  บริเวณตาข้างจะมีหนาม 1 – 5 หนาม    มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ดอกมี
ขนาดใหญ่  เกิดบริเวณปลายกิ่งในช่วงเดือนเมษายน เมื่อบานมีลักษณะคล้ายปากแตร  โดยจะบานในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกจะ
มีความยาวประมาณเกือบหนึ่งฟุต  ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม   เป็นช่วงที่แก้วมังกรให้ผลผลิต    ผลมีลักษณะเป็นสันเหลี่ยมทู่ๆ เรียงรายอยู่
ทั่วไปบนผิวเปลือก  เปลือกหนา  มีสีชมพูอมส้ม ภายในผลเมื่อผ่าออกจะมีเนื้อสีขาวขุ่น     หรือสีชมพู ในเนื้อจะมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ คล้ายกับเมล็ดงา
ฝังตัวอยู่
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
วิธีปลูกและดูแลรักษาต้นแก้วมังกร
          ขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนการเตรียมเสาสำหรับให้ต้นแก้วมังกรเลื้อย   โดยใช้ท่อใยหินกว้าง 4 – 6 นิ้ว สูง 1.5 – 2 เมตร    นำท่อมาเจาะรูที่
ปลายด้านบน 4 รู  แล้วตัดเหล็กเส้นให้ได้ขนาดตามยางรถ  นำเหล็กเส้นที่ตัดแล้ว 2 เส้นสอดเข้าไปในรูที่เจาะไว้  ให้เป็นเครื่องหมายกากบาทแล้ว
นำยางรถมาวางทับเหล็กเส้นไว้  จากนั้นใช้ลวดมัดให้แน่นหนา เพื่อความแข็งแรง
          จากนั้นขุดหลุมขนาด 60 x 60 x 60 เซนติเมตร   นำเสาที่ประกอบเสร็จแล้วมาวางไว้ในหลุม แล้วกลบดินเล็กน้อย ใส่ปุ๋ยคอกลงไปในหลุม
จนเกือบเต็มหลุม นำต้นแก้วมังกร 4 – 5 ต้น มาปลูกรอบ ๆ โคนเสา (ท่อใยหิน) แล้วกลบดินให้เต็มหลุม  ใช้เชือกหรือผ้ามัดต้นแก้วมังกรไว้กับเสา
เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นแก้วมังกรล้มหรือหัก
          สำหรับการดูแลรักษานั้น  ต้นแก้วมังกรชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี  มีอินทรียวัตถุสูง    ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.3 – 6.8 ความชื้น
65% ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง  และที่ได้กล่าวไว้ในช่วงต้นว่า   ต้นแก้วมังกรเป็นพืชสกุลเดียวกับกระบองเพชร เพราะฉะนั้นแก้วมังกรจึงไม่
ชอบน้ำ    ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนให้น้ำเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  ส่วนในฤดูฝนนั้นไม่ต้องให้น้ำเลย  ในเรื่องของการให้ปุ๋ย  ควรให้ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง
โดยครั้งที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15 – 15 – 15 ระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ซึ่งถ้าหากใส่ปุ๋ยคอกจะทำให้รสชาติของแก้วมังกร
ออกหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย  ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15 – 15 – 15  ในช่วงเดือนมกราคม    เพื่อเป็นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ครั้งที่ 3
ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าตัวหลังมากๆ  เช่น 15 – 17 – 18  หรือ 10 – 10 – 40  เพื่อเป็นการเตรียมและเร่งให้ต้นแก้วมังกรออกดอก

 

ถ้าหากต้นแก้วมังกรออกยอดสูงกว่าเสาเล็กน้อย  ให้ใช้มือเด็ดปลายยอดทิ้ง    ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นแก้วมังกรแตกยอดออกมากขึ้น  สำหรับ
หญ้าที่ขึ้นใกล้ ๆ โคนต้น ควรกำจัดอยู่เสมอ  เพื่อให้ต้นแก้วมังกรได้รับสารอาหารเต็มที่ และทุก 2 ปี หลังจากต้นแก้วมังกรออกผลจนหมด  ในช่วง
เดือนตุลาคมควรตัดแต่งกิ่งให้สวยงาม  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ต้นแก้วมังกรแตกกิ่งใหม่ได้มาก
          การเก็บเกี่ยว     ควรเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกรที่มีอายุประมาณ 2 เดือน    นับตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว  หรือสังเกตจากผลที่จะต้องมี
สีแดงทั่วทั้งผล  จากนั้นใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดผลแก้วมังกรออกจากกิ่ง และต้องระมัดระวังอย่าให้กิ่งหัก
พันธุ์แนะนำ
          – พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง (Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose.) เปลือกสีชมพูสด ปลายกลีบสีเขียว รสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานจัด
          – พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง (Hylocercus megalanthus) เปลือกสีเหลือง ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่น ๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่า
พันธุ์อื่น รสหวาน
          – พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง (Hylocercus costaricensis)  หรือพันธุ์คอสตาริกา   เปลือกสีแดงจัด    ผลเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่
รสหวานกว่า
การขยายพันธุ์
          วิธีการขยายพันธุ์แก้วมังกรที่ง่าย และสะดวกคือการปักชำ  โดยเกษตรกรต้องเลือกเฉพาะกิ่งที่แก่เท่านั้น   ไม่ควรใช้กิ่งอ่อนเพราะจะทำให้
กิ่งเน่า กิ่งแก่ในแต่ละกิ่งสามารถตัดเป็นท่อนได้หลายท่อน    ซึ่งจะต้องตัดให้มีความยาวประมาณ 12 ฟุต    นำโคนกิ่งแก่ (ด้านโคนหนามจะตั้งขึ้น)
นำไปจุ่มในน้ำที่ผสมน้ำยาเร่งรากในอัตราเข้มข้นจุ่มโคนให้ลึก 10 เซนติเมตร  แล้วนำมาวางไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 7 – 10 วัน  จนกิ่งเริ่มเหี่ยว

 

ในระหว่างนี้จึงเตรียมแปลงเพาะชำ  เริ่มต้นจากการปรับพื้นที่ดินให้เรียบร้อย ใส่ขี้เถ้าแกลบดำลงในแปลงหนาประมาณ 1 คืบ  ถ้าหากแปลง
เพาะชำอยู่กลางแจ้งควรมุงด้วยตาข่ายพรางแสง 60%  จากนั้นนำกิ่งที่ชุบน้ำยาเร่งรากแล้วไปปักชำให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร โดยเอาด้านโคน
ปักลงและต้องตั้งกิ่งให้ตรง ที่สำคัญควรระมัดระวังในเรื่องให้น้ำ เพราะหากให้น้ำมากเกินไปอาจจะทำให้กิ่งเน่าได้  โดยปกติแล้วควรให้น้ำ 2 – 3 วัน
ต่อครั้ง หลังจากปักชำได้ 1 เดือนแล้ว  กิ่งแก้วมังกรจะออกราก   จึงจะสามารถนำไปปลูกในแปลงได้  วิธีดูว่ากิ่งแก้วมังกรนั้นสมบูรณ์พอที่จะนำไป
ปลูกได้หรือไม่ ให้สังเกตการแตกยอดอ่อน  ควรใช้กิ่งที่มีการแตกยอดอ่อนไปปลูกในแปลง
คุณค่าทางโภชนาการ
          แก้วมังกรอุดมไปด้วยไฟเบอร์  ซึ่งมีปริมาณสูงมาก จึงช่วยในเรื่องของระบบการขับถ่าย ในส่วนของเนื้อมีสาร Complex Polysaccharides
เป็นตัวที่ช่วยลดการดูดซึมไตรกลีเซอร์ไรด์  ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด มีสารมิวซิเลจจำนวนมาก เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเหลว หรือเยลลี่
ช่วยดูดน้ำ ช่วยคุมน้ำตาลกลูโคสในคนที่เป็นเบาหวาน  โดยไม่พึ่งอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก บรรเทาโรคโลหิตจาง รวมถึงแร่ธาตุอีกมากมาย
ทั้งวิตามินบี1 บี2 บี3 วิตามินซี ฟอสฟอรัส โปรตีน และแคลเซียม
          ผลแก้วมังกรมีคุณค่าทางอาหาร  มีสรรพคุณป้องกันโรคหัวใจ  ความดันโลหิต ตับ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ และต่อมลูกหมาก   เสริมสร้างภูมิ
ต้านทานกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อ และในแก้วมังกรเนื้อแดงนั้น          ยังมีสารไลโคปีนที่สามารถต่อต้านมะเร็งได้อีกด้วยด้วยรสชาติที่หวานน้อย
ประกอบกับคุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกรที่มีมากมายเช่นนี้   จึงทำให้เป็นผลไม้ที่หลายๆ คนชื่นชอบ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รักสุขภาพ กลัว
ความหวาน กลัวไขมัน ต้องการลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก  รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย
การตลาดแก้วมังกร
          แก้วมังกรเป็นพืชที่ทนแล้ง  ทนต่อโรคแมลง  ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีมากนัก   จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเป็น
การค้า เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และใช้พื้นที่ในการปลูกเพียง 1 ตารางเมตรต่อ
หนึ่งเสา หรือ 4 – 5 ต้น  เพราะฉะนั้นเกษตรกรสามารถปลูกได้  แม้แต่บริเวณรอบๆ บ้าน ที่มีพื้นที่จำกัดสำหรับการส่งออกผลแก้วมังกรนั้น   ตลาดส่งออกที่น่าสดใสคงหนีไม่พ้นตลาดผู้รักสุขภาพ   ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ต่าง

ตื่นตัวในเรื่องของสินค้าเกษตรที่มีประโยชน์สูง และปลอดสารพิษ   และแก้วมังกรยังเป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย
อย่างสูง เนื่องจากเป็นผลไม้รสไม่หวานจัด ชาวต่างชาติมีความต้องการสูง คนชรา คนเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นิยมรับประทานเพราะ
กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถบริโภคผลไม้ที่มีรสหวานจัดได้ แก้วมังกรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม

ที่มา // http://it.doa.go.th/pibai/pibai/rai.html