อาการแบบนี้..พืชขาดสารอาหารตัวไหนกันนะ

อาการขาดธาตุอาหาร สามารถสังเกตุได้คร่าวๆ ดังนี้

  • อาการที่ใบล่างหรือใบแก่ก่อน แสดงว่าธาตุนั้นมีการเคลื่อนย้ายได้ดีในพืช เช่น โพแทสเซียม (K) แมกนีเซียม (Mg) มักพบอาการที่ปลายใบก่อนตามมาที่ขอบใบจึงลุกลามเข้ากลางใบ สีใบจะเริ่มเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นน้ำตาล
  • อาการที่ใบบนหรือใบยอดก่อน แสดงว่าธาตุนั้นไม่มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายภายในพืช คือเคลื่อนย้ายจากในล่างสู่ใบบนไม่ได้ ได้แก่ แคลเซียม (Ca) โบรอน (B)
  • อาการเกิดที่ใบทั่วลำต้น เกิดทั้งใบแก่และใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะแสดงอาการมากกว่า แต่อาการไม่แสดงชัดเจนก็ตาม ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส(P) และกำมะถัน (S)

1. พืชโตช้า ต้นแคระแกรน ใบมีสีเหลือง

สารอาหารต้นไม้ ธาตุอาหาร ต้นไม้ใบเหลือง

หากพืชมีอาการโตช้า ต้นแคระแกรน ออกดอกลดลง ผล รากหรือส่วนที่สะสมอาหารมีขนาดลดลง ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของพืช มีสีเขียวจางแล้วกลายเป็นสีเหลืองอ่อน เริ่มซีดจากปลายใบ ถ้ารุนแรงเป็นสีน้ำตาลลามสู่กลางใบเป็นรูปตัววี (V) ใบจะร่วงก่อนกำหนด แสดงว่าพืชขาด ไนโตรเจน (N)

2 ใบแก่สีม่วงแดง ขอบใบม้วน ผอมสูง ลำต้นบิด

สารอาหารต้นไม้ ธาตุอาหาร ต้นไม้ใบแก่ ขอบใบม้วน

ใบแก่มีสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลำต้น ซึ่งจะเห็นได้เด่นชัด ทางด้านใต้ใบจะมีสีเขียวเข้ม ขอบใบม้วนงอไหม้ ต้นโตช้า ผอมสูง พืชบางชนิดอาจมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็งแต่เปราะหักง่าย ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ผลมีความหยาบแข็งเพราะมีไฟเบอร์มาก และค่อนข้างจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ แสดงว่าขาด ฟอสฟอรัส (P)


3. ใบแก่มีสีเหลืองซีด มีจุดสีน้ำตาลไหม้

สารอาหารต้นไม้ ธาตุอาหาร ต้นไม้ใบแก้เหลืองซีด มีจุดน้ำตาล

ใบแก่มีสีเหลืองซีดตามขอบใบ ขอบใบจะม้วนงอ ในเวลาต่อมาขอบใบจะแห้งเป็นมัน มีจุดสีน้ำตาลไหม้ เริ่มจากปลายใบสู่กลางใบ ต้นโตช้า หักล้มง่าย ผลเล็กรูปร่างผิดปกติ สุกไม่สม่ำเสมอ เมล็ดเหี่ยวย่นหรือบิดเบี้ยว ถ้าเป็นมะเขือเทศเนื้อจะเละ เมล็ดธัญพืชมีเมล็ดเล็กลีบ น้ำหนักเบา พืชหัวจะมีแป้งน้อย ใบยาสูบจะมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก กลิ่นไม่ดี แสดงว่าขาด  โพแทสเซียม (K)

4 ใบสีจุดสีเหลืองทั่วทั้งใบ ปลายใบแห้ง

ธาตุอาหารต้นไม้ ใบสีจุดสีเหลืองทั่วทั้งใบ ปลายใบแห้ง

ใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน ใบมีจุดประสีเหลืองอยู่ทั่วทั้งใบ เหลืองซีดหรือขาวระหว่างเส้นใบในขณะที่เส้นใบยังคงเขียว ตรงขอบจะมีจุดสีน้ำตาล ปลายใบจะแห้งเป็นสีน้ำตาล บางครั้งมีสีแดงปน ถ้าขาดรุนแรงใบจะแห้งและตาย พืชที่มีใบเล็ก มักโค้งงอขึ้นจากปลายใบ ต้นจะมีขนาดเล็กลงมาก ให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัดกิ่งเปราะหักง่าย ผลแก่ช้ากว่าปกติ แสดงว่าขาด แมกนีเซียม (Mg)

5 ใบซีด มีจุดด่างกระจาย ใบม้วนเข้าข้างใน

ธาตุอาหารต้นไม้ ใบซีด มีจุดด่างกระจาย ใบม้วนเข้าข้างใน

สีใบจางซีดผิดปกติ ใบจะมีจุดด่างกระจายอยู่ทั่วใบแต่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ ถ้าขาดรุนแรงพืชจะแสดงอาการใบม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลมีขนาดเล็กลง ในกะหล่ำดอกจะแสดงอาการดอกหลวมไม่แน่น แสดงว่าขาด โมลิบดินัม (Mo)

6 ใบมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

ธาตุอาหาร ต้นไม้ ใบมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

จุดเหลืองกระจายในใบแก่คล้ายราสนิมในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น  ถั่วฝักยาว ผักกาด ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอย่างข้าวโพด ใบจะเหลืองซีดหรือขาวเป็นทางสลับเขียวระหว่างเส้นใบเกิดจากปลายใบสู่โคนใบ ข้อสั้น ตาดอก ตายอดลดลง ข้อปล้องสั้น ใบออกมาซ้อนๆ กัน ให้ผลลดลง แสดงว่าขาด สังกะสี (Zn)

7 ใบมีสีเขียวจัดแต่ค่อยๆกลายเป็นสีเหลือง

ธาตุอาหาร ต้นไม้ ใบมีสีเขียวจัดแต่ค่อยๆกลายเป็นสีเหลือง

8 ใบมีขนาดเล็ก ใบอ่อนมีจุดสีขาวหรือจุดสีเหลือง

ธาตุอาหารต้นไม้ ใบมีขนาดเล็ก ใบอ่อนมีจุดสีขาวหรือจุดสีเหลือง

ใบมีขนาดเล็กผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ ใบจะออกสีเหลืองส่วนเส้นใบเขียวปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดสีขาวหรือจุดสีเหลือง สำหรับใบข้าวโพดมีแถบสีเหลืองแคบ ๆ ส่วนลักษณะที่แสดงลำต้นคือ ต้นพืชผอม มีขนาดเล็ก พุ่มต้นโปร่งโตช้า ติดผลน้อย ในหัวหอมจะทำให้หัวหอมอ่อนนุ่ม เปลือกบาง สีซีดขาว แสดงว่าขาด แมงกานีส (Mn)

9 ใบอ่อนเล็กกว่าปกติ มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ

ธาตุอาหารต้นไม้ ใบอ่อนเล็กกว่าปกติ มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ

ยอดอ่อนเจริญเติบโตได้ช้ากว่าปกติ พบในใบอ่อนหรือใบบริเวณส่วนยอดบนก่อน ใบมีขนาดเล็กกว่าปกติ มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ ปลายยอด และขอบใบ ส่วนเส้นใบยังคงเขียว หรือขาวทั้งใบในที่สุด แผ่นใบเล็กหรือหนาขึ้น ขาดรุนแรง ระหว่างเส้นใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ให้ผลลดลง ขนาดของผลเล็ก ผิวไม่สวย แสดงว่าขาด เหล็ก (Fe)

10 พืชชะงักการเติบโต ใบมีสีเหลือง 

ธาตุอาหารต้นไม้ พืชชะงักการเติบโต ใบมีสีเหลือง 

ยอดพืชชะงักการเจริญเติบโต ใบมีสีเขียวอ่อนหรือเหลือง คล้ายอาการขาดธาตุไนโตรเจน (N) ขนาดใบเล็กลง แต่จะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการขาดรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก ซึ่งดินที่มักพบขาดธาตุกำมะถัน (S) มักเป็นดินทรายเนื่องจากมีอินทรียวัตถุน้อย แสดงว่าขาด กำมะถัน (S)

11 ใบอ่อนไม่คลี่ออกจากกัน ใบบิดเบี้ยว ม้วนงอไปข้างหน้า 

ธาตุอาหารต้นไม้ ใบอ่อนไม่คลี่ออกจากกัน ใบบิดเบี้ยว ม้วนงอไปข้างหน้า

ใบอ่อนไม่คลี่ออกจากกัน ใบบิดเบี้ยว ม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้วๆ บางครั้งขอบใบหยักเป็นคลื่นขนาดเล็กลง ใบเหลือง มีจุดประขาวอยู่บนใบส่วนยอด ดูคล้ายอาการยอดด่าง ก้านใบแตก ตาใบและดอกร่วงเร็ว รากผิดปกติ ลำต้นอ่อนแอ แสดงอาการในต้นอ่อน ถ้าเป็นที่ขึ้นฉ่ายเรียกโรคไส้ดำ ในมะเขือเทศทำให้ผลเป็นก้นจุดที่ท้ายผลและเน่าในที่สุด แสดงว่าขาด แคลเซียม (Ca)

12 ยอดใบไหม้ โตช้า 

สารอาหารต้นไม้ ธาตุอาหาร ต้นไม้โตช้า

อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมากๆ โดยยอดและใบอ่อนไหม้ ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ โตช้า ร่วงหลุดง่าย ใบอ่อนบางผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน ขอบใบเหลืองปนน้ำตาล ใบหนา ม้วน ย่น ใบช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก ลำต้นอาจแตกเปราะ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น ไส้กลวง กิ่งก้านแลดูเหี่ยว ดอกผสมไม่ติด ผลมักบิดเบี้ยว ผลเล็กและผิวขรุขระ หยาบ หนาและแข็งผิดปกติ บางทีผลแตกเป็นแผลหรือไส้กลวงได้ แสดงว่าขาด โบรอน (B) โดยผักที่มักขาดธาตุโบรอน (B) ได้แก่ กลุ่มผักสลัด เช่น สลัดคอส, บัตเตอร์เฮด ฯลฯ ในพืชหัว เช่น ผักกาดหัว ใบจะเป็นจุดๆ ในกะหล่ำดอกและบรอคโคลีทำให้ดอกจะเป็นสีน้ำตาล

เมื่อเราทราบลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืชในเบื้องต้นแล้ว เราก็สามารถจัดการพืชที่เราปลูกให้ได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอได้แล้ว ที่สำคัญควรใส่ในปริมาณที่พอดี ถูกสูตร ถูกเวลา ก็จะทำให้พืชที่เราปลูกเจริญเติบโตงอกงามให้ผลผลิตเต็ที่ค่ะ

ขอขอบคุณภาพและบทความดีๆ
จากบ้านและสวน