บุญพืชในมันสำปะหลัง
📚ฤดูการปลูก : มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก2 ช่วง คือ
📌ช่วงต้นฤดูฝน (เดือนมีนาคม – พฤษภาคม) การปลูกช่วงนี้มันจะได้รับน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ว่าจะมีปัญหาคือวัชพืชขึ้นเร็วและโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดง่าย
📌ช่วงปลายฤดูฝน (เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม) การปลูกมันช่วงนี้ดินจะมีความชื้นสะสมจากฝนเกษตรกรไม่ต้องกำจัดวัชพืชบ่อยๆ และโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดน้อย แต่ว่าผลผลิตอาจไม่สูงเท่าการปลูกต้นฤดูฝน
📚การดูแล
มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตดี ควรมีการใส่ใจดูแลในระยะ 3-4 เดือนแรก คือ
-
- น้ำ: การที่ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรกหลังปลูกจะทำให้มันเจริญเติบโตได้ดี มีใบมาก สังเคราะห์แสงได้ดี รากเยอะ และลงหัวเยอะ เพราะฉะนั้นการปลูกช่วงในปลายฝนมัน จึงมีข้อด้อยกว่าคือ สำปะหลังจะพัฒนาต้นได้น้อย จำนวนรากน้อย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผลผลิตลดลงนั่นเอง
- ปุ๋ย : มันสำปะหลังต้องการธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดและธาตุอาหารรองเสริม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการปลูกซ้ำทุกปีควรมีการให้ธาตุอาหารรองเสริมร่วมด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยเพราะดินแน่นแข็ง จะมีผลต่อการลงหัวของมันเช่นกัน และที่สำคัญควรใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงการเจริญเติบโตด้วย
✅ ระยะรองพื้น (1-2 เดือน) ช่วยเตรียมธาตุอาหารในดินให้มันสำปะหลังไปใช้ในการเจริญเติบโตบำรุงรากให้แข็งแรงและต้นโตสมบูรณ์ ใช้บุญพืชมันลงหัว หว่านรองพื้น 1 กระสอบ/ไร่ หรือใช้บุญพืชมันหัวโตผสมร่วมเคมีสูตร 15-15-15 อัตราผสมบุญพืช 2 ส่วนต่อเคมี 1 ส่วน หว่านไร่ละ 50-70 กก. ทางใบ ฉีดพ่นต้าร์ต้าร์สูตรไม้ผล อัตรา 200-400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อมันสำปะหลังอายุ 30,60 วัน หากมีโรคแมลงระบาดสามารถผสมร่วมแล้วฉีดพ่นพร้อมกันได้
✅ระยะลงหัว (3-4 เดือน) ช่วยให้หัวมันสำปะหลังโต เพิ่มแป้ง และน้ำหนัก ใช้บุญพืชมันลงหัวร่วมปุ๋ยเคมีสูตร เช่น 15-5-20, 15-7-20, 15-7-18 เป็นต้นอัตราผสมบุญพืช 2 ส่วนต่อเคมี 1 ส่วน หว่านไร่ละ 50-70 กก.
-
- กำจัดวัชพืช: โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรกหลังปลูก หากไม่มีการกำจัดวัชพืชจะทำให้วัชพืชวัชพืชเหล่านี้จะแย่งธาตุอาหารจนมันสำปะหลังขาดธาตุอาหาร ส่งผลให้มันโตช้า ได้ผลผลิตน้อยลง
-
- การป้องกันโรคและแมลง: หมั่นตรวจดูและป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช โดยศรัตรูที่สำคุญที่ส่งผลโดยตรงกับผลผลิตคือ “ เพลี้ยแป้ง” เกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญกับท่อนพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่ไม่มีเพี้ยแป้งระบาด และก่อนนำท่อนพันธุ์ลงปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารกำจัดแมลงผสมร่วมต้าร์ต้าร์ ก่อน 20-30 นาที และปลูกควรมีการตรวจแปลงมันสำปะหลังรวมทั้งแปลงข้างเคียงอยู่เสมอ หากมีการระบาดต้องรีบกำจัดทันที
📚 ระยะเวลาเก็บเกี่ยว : มันสำปะหลังที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 10-12 เดือน หลังปลูก โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมเก็บเกี่ยวในช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ของทุกปี อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เช่น
พันธุ์มันสำปะหลัง: แต่ละพันธุ์มีระยะเวลาการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน
สภาพดินฟ้าอากาศ: ปริมาณน้ำฝน แสงแดด อุณหภูมิ ล้วนส่งผลต่อระยะการเจริญเติบโตของหัวมันสำปะหลัง
ความต้องการของตลาด: เกษตรกรอาจเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเร็วหรือช้ากว่าปกติ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด เป็นต้น
หมายเหตุ ปริมาณปุ๋ยที่แนะนำเป็นเพียงเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสายพันธุ์ที่ปลูก
🟢 สินค้า: บุญพืช มันลงหัว เหมาะสำหรับมันสำปะหลังทุกสายพันธุ์