ปุ๋ยใส่กระเทียม

การใช้ปุ๋ยบุญพืชกับกระเทียม

ปุ๋ยใส่กระเทียม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

          กระเทียมเจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 12-22 องศาเซลเซียส ช่วงแสงแดดยาว  ควรเป็นดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ถ้าดินเป็นกรดควรปรับปรุงดินก่อนปลูกอย่างน้อย 15 วัน เพื่อปรับดินให้เป็นกรดอ่อน ๆ (pH 5.5-6.8) การเตรียมดินดีจะช่วยให้กระเทียมลงหัวดี และควรเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1-2.5 เมตร ความยาวตามพื้น ที่ปลูกระยะห่าง ระหว่างแปลง (ทางเดินหรือร่องน้ำ) ควรกว้าง 50 ซม.

พันธุ์ที่ใช้ปลูก
สามารถแบ่งได้ตามอายุการแก่เก็บเกี่ยวได้ ดังนี้
1. พันธุ์เบา หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแหลม ลำต้นแข็ง กลีบเท่าหัวแม่มือ กลีบและหัวสีขาว มีกลิ่นฉุนและรสจัด อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน เช่น พันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ เป็นต้น
2. พันธุ์กลาง ลักษณะใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่ และแข็ง หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วง อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน นิยมปลูกมากในภาคเหนือ เช่นพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
3 พันธุ์หนัก ลักษณะใบกว้างและยาว ลำต้นเล็ก หัวใหญ่ กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพู น้ำหนักดี อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน เช่น พันธุ์จีน หรือไต้หวัน เป็นต้น

ระยะเวลาเพาะปลูก
1. เพาะปลูกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อายุประมาณ 75-90 วัน กระเทียมรุ่นนี้เรียกว่ากระเทียมดอ หรือกระเทียมเบา นิยมใช้ทำกระเทียมดอง ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะฝ่อเร็ว
2. เพาะปลูกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม หลังการเก็บเกี่ยวข้าวและเก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อายุประมาณ 90-120 วัน เรียกว่ากระเทียมปี ใช้ทำกระเทียมแห้งเพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน

วิธีปลูก
          กระเทียมปลูกโดยใช้กลีบ ซึ่งประกอบเป็นหัวนิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่ จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง          

          การปลูกอาจให้น้ำก่อนและใช้กลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ เป็นแถวตามระยะปลูกที่กำหนด ในพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กก. หรือกลีบ 75-80 กก. ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 -15 ซม. จะให้ผลผลิตสูงที่สุด

          สำหรับกระเทียมจีนใช้ระยะปลูก 12-12 ซม. และหัวพันธุ์ 300-350 กก.ต่อไร่ หลังปลูกจะใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อควบคุมวัชพืช ที่จะมีขึ้นในระยะแรกเก็บความชื้นและลดความร้อนเวลากลางวัน ควรให้น้ำก่อนปลูก และหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงระหว่างเจริญเติบโต 7-10 วัน/ครั้ง  ควรงดการให้น้ำเมื่อกระเทียมแก่จัด ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์

          หลังปลูกกระเทียมควรคลุมดินด้วยฟางข้าวแห้ง เศษหญ้าแห้ง เพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก รักษาความชื้นในดิน ประหยัดในการให้น้ำและลดอุณหภูมิลงทำให้กระเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ดี

การใส่ปุ๋ย 
ใช้วิธีแบบหว่านทั่วแปลงหลังจากให้ปุ๋ยให้รดน้ำหรือเอาน้ำเข้าแปลงให้ชุ่ม โดยให้ปุ๋ยช่วงต่างๆดังนี้

📌ใส่ปุ๋ยพลังบุญพืชเป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก อัตราปริมาณ 50-100 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน แล้วพรวนกลบลงในดิน ปริมาณครึ่งหนึ่ง

📌เมื่ออายุ14วันหลังปลูกใช้ปุ๋ยสูตรพลังบุญพืชผสมร่วมปุ๋ยยูเรีย อัตรา 2 : 1 ส่วน หว่านไร่ละ 50 กก./ไร่ ฉีดพ่นต้าร์ต้าร์สูตรพืชผัก รอบ 1 ในอัตรา20 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตรเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและสร้างภูมิต้านทานโรค

📌เมื่ออายุ 30 วัน ให้ใส่ปุ๋ยบุญพืชสูตรบำรุงผลสร้างเนื้อจัมโบ้ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 2 : 1 ส่วน หว่านไร่ละ  50 กก./ไร่ ฉีดพ่นต้าร์ต้าร์สูตรพืชผัก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค และเร่งการลงหัว และฉีดต่อเนื่องทุก 15 วัน ** อัตราการผสมร่วมสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่**

การกำจัดวัชพืช
         ควรกำจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชเริ่มงอก ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะแย่งน้ำอาหารและแสงแดดจากกระเทียมแล้ว เมื่อถอนจะทำให้รากของกระเทียมกระเทือนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้ต้นเหี่ยวตายได้ ฉะนั้นเมื่อวัชพืชมี ขนาดใหญ่ควรใช้มีดหรือเสียมมือเล็ก ๆ แซะวัชพืชออก
          

การกำจัดโรค-แมลงศัตรูที่สำคัญของกระเทียม
1. โรคใบเน่า มีเชื้อรา เป็นสาเหตุ
เริ่มแรกจะมีแผลเกิดขึ้นบนใบกระเทียม ลักษณะเป็นจุดสีเขียวหม่นและขยายออกไปเป็นแผลรูปยาวรี มองเห็นเป็นรอยบุ๋มเล็กน้อย ใบหนึ่ง ๆ อาจมีหลายแผลติดกัน จนใบแห้งและหักพับลงมา ทำให้ใบพืชไม่สามารถปรุงอาหารตามปกติได้ ถ้าเป็นในระยะที่ลงหัว หรือหัวแก่จัด และเกษตรกรเก็บรักษาหัวนั้นไว้ เชื้อโรคนี้อาจจะไปแพร่ระบาดในโรงเก็บได้

2.โรคใบจุดสีม่วงมีเชื้อราเป็นสาเหตุ
เกิดกับใบกระเทียม เริ่มแรกจะมีแผลหรือจุดสีขาวก่อน และจะขยายใหญ่เป็นแผลรูปยาวรี สีน้ำตาลอ่อนหรือม่วง ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มหรือเหลือง แผลมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ในแต่ละใบอาจมีมากกว่า 1 แผล ทำความเสียหายแก่กระเทียมเช่นเดียวกับโรคใบเน่า และสามารถทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต มีการเก็บเกี่ยวก่อนกำหนด หัวกระเทียมที่ได้ไม่แก่จัด ไม่เหมาะที่จะใช้ทำพันธุ์ และทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

แมลงที่สำคัญ
1. ไรขาวหรือไรหอมกระเทียม
ลักษณะอาการ เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบพืช ทั้งอ่อนและแก่ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้งในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ทำให้ใบและยอดอ่อนของกระเทียม มีอาการ หงิก งอ ม้วนตัวแน่น ไม่คลี่ยาวเหยียดไป และจะระบาดรวดเร็วมากในไม่ช้า ใบก็จะเริ่มมีลายสีเขียวอ่อนและขาว จนในที่สุดเป็นสีเหลืองฟางข้าว และใบแห้งเหี่ยวคล้ายใบไหม้

2.เพลี้ยไฟหอม
ลักษณะอาการ ลำตัวขนาดยาว 1-1.2 มม. ตัวอ่อนสีน้ำตาลอ่อนถึงเขียว ตัวแก่สีเหลืองซีดถึงน้ำตาลอ่อน ทำลายกระเทียมโดยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ทำให้เป็นจุดสีขาวซีด บางครั้งเป็นจุดลึกลงไปทำให้ใบซีดขาว และเหี่ยวแห้ง

การเก็บเกี่ยว
ลักษณะการแก่จัดของกระเทียม สามารถสังเกตได้ดังนี้
✔ มีตุ่มหรือหัวขนาดเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่ลำต้นของกระเทียมตั้งแต่ 1 ตุ่มขึ้นไป
✔ ส่วนของยอดเจริญขึ้นมาหมดแล้ว และกำลังมีต้นดอกชูขึ้นมา
✔ ใบกระเทียม เริ่มแห้งตั้งแต่ปลายใบลงมามากกว่า 30%
✔ ใบ หรือต้นกระเทียม เอนหัก ล้มนอนไปกับพื้นดิน 25 % ขึ้นไป
✔ ดอก หรือโคนลำค้น บีบดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม
ถ้าพบลักษณะดังกล่าว ให้เริ่มถอนกระเทียมได้ ซึ่งจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 100-120 วันหลังปลูก หรือเมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวใบจะแห้ง ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปจะทำให้กลีบร่วงได้ง่าย และได้กระเทียมที่มีคุณภาพไม่ดี

อ้างอิง : www.vegetweb.com/กระเทียม